‘หุ้นกลุ่มกลาโหม’ สหรัฐร่วงหนักหลังทรัมป์เน้นสันติภาพแทนสงคราม

2025-03-05 | ข่าวสารการลงทุน , ทรัมป์ , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , หุ้นกลุ่มกลาโหม , หุ้นยุโรป , หุ้นสหรัฐ

หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “หุ้นกลุ่มกลาโหม” ของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบ นักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากทรัมป์ประกาศยุติสงครามที่ยืดเยื้อมานาน  

ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายบริษัทที่เกี่ยวกับด้านการป้องกันประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้นจากความขัดแย้งทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อทรัมป์หันมาให้คำมั่นว่าจะลดการแทรกแซงทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในตลาดตอนนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้าง? มาอ่านต่อกัน 

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้รับผลประโยชน์จากสงครามและความขัดแย้งมาโดยตลอด การใช้จ่ายทางทหารถูกใช้ไปกับเชื้อเพลิง อาวุธ และการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อมีส 

ครามเกิดขึ้น มูลค่าหุ้นก็เพิ่มขึ้นตาม แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ทำให้มูลค่าลดลง  

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ทรัมป์ต้องการที่จะลดบทบาททางทหารและหันมาให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการทูตแทน ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลและเทขายหุ้นของอุตสาหกรรมนี้  

ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่าไม่มีสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นน หรือ No more endless wars นั่นหมายความว่าสหรัฐจะถอนกำลังทหารออกจากจุดต่างๆทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ  

  • ถอนกำลังทหารออกจากตะวันออกกลางและยุโรป  
  • ลดงบประมาณทางทหารและให้ความสำคัญกับนโยบายในประเทศ  
  • ลดการแทรกแซงคสามขัดแย้งระหว่างประเทศ  

สำหรับบริษัทด้านการป้องกันประเทศอาจตกอยู่ที่นั่งลำบาก เพราะการทำสัญญากับรัฐบาลอาจลดลง การซื้อขายอาวุธระหว่างประเทศอาจชะลอตัวลง ทำให้นักลงทุนมองเห็นถึงความเสี่ยงและทะยอยขายหุ้นออกไป  

เริ่มจากวิเคราะห์ผลประกอบการของหุ้นป้องกันประเทศของสหรัฐ จะเห็นว่ากำลังอยู่ในจุดขาลง  

หุ้นกลาโหมสหรัฐ NOC

ตลอดเดือนที่ผ่านมา: 

หุ้น ผลประกอบการ 
Lockheed Martin (LMT)                -11.74% 
Northrop Grumman: (NOC)                -10.84% 
General Dynamics (GD)                -9.49% 
AXON Enterprise (AXON)                -15.53 

แต่ในขณะที่หุ้นยุโรปกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  

หุ้นกลาโหมยุโรป RHM
หุ้น ผลประกอบการ 
Rheinmetall (RHM.DE)                +32.70 
Thales (FR)               +23.11 
BAE Systems (GB)                +8.24 
Airbus (EU)                +1.5 

การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มนี้อาจเกี่ยวข้องกับข่าวที่ว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐกำลังเตรียมตัดงบประมาณก่อนการตรวจสอบความโปร่งใสของงบประมาณกลาโหม จาก DOGE (Department of Government Efficiency) ที่นำโดยอีลอน มักส์  

แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มนี้ดันเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจเนื่องจากผลประกอบการเป็นไปในทิศทางขาขึ้น และคาดว่าการใช้จ่ายทางทหารของยุโรปจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อชดเชยบทบาทของรัฐบาลสหรัฐที่ลดลง  

ทรัมป์มีแผนลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) 8% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี  

ถือว่าเป็นงบประมาณที่มีมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณส่วนนี้จะถูกย้ายไปใช้กับความมั่นคงชายแดนและเทคโนโลยีโดรนแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดและเป็นที่มาของหุ้นป้องกันประเทศร่วงหนัก   

ตัวอย่างบริษัทมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมกลาโหมอย่าง Palantir Technologies เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้าน AI และ Big Data Analytics ที่ให้บริการแก่หน่วยข่าวกรอง กองทัพและภาคอื่นๆ ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศข่าวเรื่องงบประมาณออกมา ส่งผลให้หุ้น Palantir Technologies ลดลงถึง 10%  

โรเบิร์ต ซาเลสเซส รองปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การตัดงบประมาณนี้จะช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับผลประทบในแง่ของการเสียหายรายได้มหาศาล  

ทรัมป์ต้องการหยุดสงครามในยูเครนและหันมาสนับสนุนให้มีการเจรจาแบบสันติภาพ แต่ทาง Zelensky ผู้นำยูเครนกลับไม่เห็นด้วย และต้องการสู้ต่อ  

ทางด้านสหภาพยุโรป (EU) ก็ไม่เห็นด้วยจากการที่มีการยุติสงครามที่รวดเร็วเกินไป และยังมองว่ารัสเซียยังคงเป็นภัยคุกคามระยะยาว  

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลาโหม เพราะมีความเชื่อว่าทางยุโรปเองก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายทางทหารมากขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกภัยคุกคาม ส่งผลให้บริษัทเยอรมัน ฝรั่งเศษ และอังกฤษได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้  

นโยบาย “American First” ของทรัมป์กำลังสร้างความสั่นสะเทือนให้กับพันธมิตรทั่วโลก สหรัฐถอนตัว ทำให้ NATO วิตกกังวลว่าพวกเขาจะสามารถพึ่งพาสหรัฐด้านการปกป้องประเทศได้อยู่ไหม หลายประเทศก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจ  

ความไม่แน่นอนในพันธมิตร NATO ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปเริ่มจัดซื้ออาวุธ รถถัง และเครื่องบินรบมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หุ้นยุโรปดีดขึ้นสวนทางกับหุ้นกลาโหมของสหรัฐ  

งบกลาโหมสหรัฐ แตะจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์

ว่านี่อาจจะไม่ได้เป็นจุดจบของหุ้นกลุ่มนี้ แต่เป็นเพียงแต่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเท่านั้น  

เรื่องนี้มองได้ 2 แง่ ถ้าหากทรัมป์ยังคงเดินหน้ามุ่งเน้นสันติภาพ หุ้นกลาโหมก็ยังคงซบเซา แต่ถ้าหากความขัดแย้งกลับขึ้นมาอีกครั้ง ก็อาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นมา  

ซึ่งไม่ต่างกับนักวิเคราะห์ที่ก็มองเป็นหลากหลายมุมมอง บางฝ่ายอาจมองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อ บางฝ่ายเตือนว่าอุตสาหกรรมอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  

สิ่งที่น่าเก็บไปคิด :  

งบประมาณกลาโหมในปี 2025 จะมีแนวโน้มลดหรือไม่?  

ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ หากเกิดความขัดแย้งขึ้นอีก หุ้นก็มีแนวโน้มกลับมา  

รายงานผลประกอบการ บริษัทอาจต้องปรับคาดการณ์รายได้  

คิดว่าไม่จำเป็นต้องกังวลมากเท่าไหร่ เพราะถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนงลประมาณ แต่อุตสาหกรรมกลาโหมจะยังคงมีความสำคัญระยะยาว สหรัฐยังคงพึ่งพากำลังทางทหาร แต่แค่รูปแบบการใช้เงินอาจเปลี่ยนไป  

บริษัทอาจเปลี่ยนไปเน้นเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น Cybersecurity ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ แทนการผลิตอาวุธแบบเดิม 

นักลงทุนอาจลองพิจารณาปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของกลาโหม แต่ก็ต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?  

ติดตามบทวิเคราะห์อื่นๆของเราที่นี่  

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]

article-thumbnail

2025-07-03 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทองคำ vs บิตคอยน์: อะไรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในปี 2025? 

เมื่อพูดถึงการป้องกันความผันผวนของตลาด มีสินทรัพย์อยู่สองประเภทที่โดดเด่น: ทองคำและบิตคอยน์ หนึ่งในนั้นได้รับความไว้วางใจมานานนับพันปี ส่วนอีกตัวแม้จะอายุน้อยแต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับโลกการเงินแบบดั้งเดิมได้อย่างน่าทึ่ง  และในตอนนี้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เริ่มคลี่คลายลง และตลาดต่างจับตาการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของพาวเวลล์ สินทรัพย์ทั้งสองนี้ก็กลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในการดึงดูดเงินลงทุน  แล้วอะไรจะกลายเป็น “หลุมหลบภัยทางการเงิน” สำหรับที่เหลือของปี 2025? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน  ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญในตอนนี้  การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง รวมถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทรัมป์ในการลดความตึงเครียดระดับโลก ได้ช่วยสลายความเสี่ยงระยะสั้นครั้งใหญ่ ราคาน้ำมันก็เริ่มเย็นลง ขณะที่ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อก็เริ่มลดลงเช่นกัน นั่นหมายความว่า ความสนใจของตลาดจะหันไปจับตาธนาคารกลางสหรัฐว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยเมื่อใด  นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทองคำและบิตคอยน์จะได้พิสูจน์ว่าใครคือผู้นำตัวจริงในฐานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ทั้งสองต่างมีแนวโน้มไปได้ดีเมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ทั้งสองได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง และทั้งสองยังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนที่วิตกกังวลและต้องการปกป้องอำนาจการซื้อ  แต่ในวันนี้ ใครคือผู้ที่ยืนเหนือกว่า?  ทองคำ vs บิตคอยน์: เปรียบเทียบแบบชัดๆ ในปี 2025  ก่อนจะลงลึกว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดของทั้งสองฝั่ง มาดูภาพรวมกันก่อนว่า ทองคำและบิตคอยน์แตกต่างกันอย่างไรในปัจจัยพื้นฐานที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุดในตอนนี้  ตอนนี้คุณก็เห็นภาพรวมแล้ว ต่อไปมาดูกันว่าทำไมทองคำอาจยังเปล่งประกายได้อีกในปีนี้ และอะไรอาจเป็นแรงผลักดันให้บิตคอยน์พุ่งแรงยิ่งขึ้น  ทองคำ: เป้าหมายถัดไปอาจอยู่ที่ 4,000 ดอลลาร์จริงหรือ?  มาเริ่มกันที่ทองคำ ล่าสุดราคาทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดใหม่ใกล้ 3,500 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อตัวลงเล็กน้อย  อะไรคือปัจจัยหนุน? เป็นผลจากหลายปัจจัยที่ประจวบเหมาะ ทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลง การเข้าซื้อของธนาคารกลาง และความกังวลเรื่องเสถียรภาพหนี้ในระยะยาว […]