ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย ? ทำไมดอลลาร์ถึงสำคัญและเราควรรู้  

2025-03-14 | ค่างินดอลลลาร์ , ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , ภาวะเศรษฐกิจถดถอย , ภาษีทรัมป์

คำถามใหญ่ในตลาดตอนนี้คือ ใกล้ถึงภาวะเสรษฐกิจถดถอยแล้วหรือยัง? เพื่อจะตอบคำถามนี้ได้อย่างดีนักลงทุนทั้งหลายต้องคอยจับตาดูเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ตลาดส่งสัญญาณว่า “ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย”  แต่เงินดอลลาร์กลับไม่เป็นเหมือนที่คาดไว้ แทนที่จะเป็นเหมือนที่ปลอดภัยแบบก่อนๆ แต่กลับอ่อนค่าลงมาก ดัชนีค่าเงินดอลลาร์เพิ่งแตะระดับจุดต่ำสุดมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2567 การเดิมพันอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และตอนนี้เฟด (Fed) ก็เป็นห่วงอนาคตของดอลลาร์เช่นกัน  “ฉันเป็นกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัจจัยที่อาจคุกคามเงินสำรองของดอลลาร์สหรัฐ”  Fed’s Harker ได้กล่าวไว้  

แล้วอะไรหละที่อยู่เบื้องหลังของการร่วงของเงินดอลลาร์ และมีความหมายต่อนักเทรดและนักลงทุนอย่างไร?  

ต่อให้รักหรือเกลียดทรัมป์แค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้มีผกระทบต่อตลาดและเป็นส่วนที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง   

นโยบายการคลังที่ต่างจากวาระแรก

ในวาระที่สองนี้ ทรัมป์มุ่งเน้นไปที่การลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลดการขาดดุลงบประมาณ แม้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นผลดีต่อความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว แต่ก็สร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงเริ่มปรับพอร์ต หันออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

การปรับลดอัตราดอกเบี้ย

การคาดการณ์ว่าเฟด (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกกำลังกดดันค่าเงินดอลลาร์ เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ผลตอบแทนจากการถือครองเงินดอลลาร์ก็ลดลงตาม ทำให้เงินดอลลาร์ไม่น่าสนใจเทียบกับสกุลเงินอื่น 

ความตึงเครียดทางการค้า

แนวคิด “America First” ของทรัมป์กลับมาอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดทั่วโลกเตรียมรับมือกับมาตรการกำแพงภาษีใหม่และสงครามการค้าครั้งใหม่ ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้นักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์อื่น  

โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุน โดยเฉพาะ “Smart Money” หรือเงินทุนจากนักลงทุนสถาบัน มักจะไหลเข้าสู่ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ครั้งนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ตรงกันข้าม ค่าเงินดอลลาร์กลับอ่อนค่าลง 

สิ่งนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งคือ ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงอาจ ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์  

(ภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรนำไปอ้างอิงถึงคำแนะนำทางการเงิน)

ลองย้อนดูวิกฤติที่ผ่านมา วิกฤตการเงินปี 2008 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งขึ้นกว่า 20% ช่วงโควิด-19 ปี 2020 ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 7% ภาวะเศรษฐกิจถดถอยปี 2022 ดอลลาร์แข็งค่าประมาณ 20% ปกติแล้วในอดีต ดอลลาร์ที่แข็งค่ามักเป็นสัญญาณเตือนภาวะถดถอย แต่ รอบนี้แตกต่างออกไป  

แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2025 อาจจะไม่เหมือนอย่างที่เราคิด เพราะปัจจุบัน ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอาจสะท้อนว่า แม้ตลาดจะมีความกลัวสูง แต่ Smart Money ยังคงไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะล่มสลายในเร็ว ๆ นี้ 

เราจึงต้องจับตาการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ให้ดี เพราะมันอาจช่วยให้คุณมองเห็นสัญญาณที่แท้จริงของตลาด  

แม้ตลาดจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตช้าลง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นล่มสลาย (Economic Collapse) ดังนั้น นักลงทุนจึงมองเห็น โอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากดอลลาร์อ่อนค่า คือ  

  • หุ้น: เมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลง หุ้นสหรัฐฯ มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า บริษัทอเมริกันสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการส่งออกถูกลง 
  • ทองคำ :โดยปกติแล้ว ทองคำเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลลาร์ เมื่อเกิดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทองคำอาจพุ่งสูงขึ้นอีก 
  • คริปโต: Bitcoin และคริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ อาจได้รับ แรงหนุนจากสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ความกังวลเรื่องเงินเฟ้ออาจลดลง ซึ่งส่งผลบวกต่อสินทรัพย์ดิจิทัล 

นักลงทุน Smart Money มองเห็นสิ่งนี้ในอนาคต  

Source : Augur Infinity(ภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรนำไปอ้างอิงถึงคำแนะนำทางการเงิน)

เมื่อทุกคนต่างตื่นตระหนกกับ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอยปี 2025” นักลงทุนที่มองทะลุความกลัวกลับเลือก Shorting the Dollar และจนถึงตอนนี้ กลยุทธ์นี้ให้ผลตอบแทนอย่างงดงาม เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ร่วงลงไปแล้วกว่า 4% ตั้งแต่ต้นปี 

การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ (USD) ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ตลาดอเมริกาเท่านั้น แต่ยังส่งแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจทั่วโลก 

ตลาดเกิดใหม่ได้ประโยชน์ เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า หนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มักถูกกำหนดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ จะจัดการได้ง่ายขึ้น เพราะภาระหนี้ลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น 

ค่าเงินในยุโรปและเอเชียแข็งค่าขึ้น เงินยูโร (EUR), เงินเยน (JPY) และ เงินหยวน (CNY) ได้รับกระแสเงินทุนไหลเข้า เนื่องจากนักลงทุนกำลังมองหาทางเลือกใหม่ในการถือสินทรัพย์ปลอดภัย  

ทุกสายตาจับจ้องไปที่ Jerome Powell และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หากเฟดเดินหน้าลดอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง ค่าเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงต่อไป ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสปรับตัวขึ้น แต่หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง เฟดอาจต้องชะลอการลดดอกเบี้ย ซึ่งอาจช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์ให้มีเสถียรภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ตลาดเกิดความผันผวน 

นโยบายของเฟดต้องอาศัยความสมดุล หากลดดอกเบี้ยเร็วเกินไป เงินเฟ้ออาจกลับมาพุ่งสูง แต่หากลดช้าเกินไป อาจสร้างความกังวลในตลาดและนำไปสู่การเทขายสินทรัพย์เสี่ยง 

สิ่งที่นักลงทุนควรพิจารณา

  • เฝ้าติดตามตลาดหุ้นในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์มีความผันผวน 
  • ประเมินทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง หากค่าเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่า 
  • จับตาความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดิจิทัลตามสภาพคล่องของตลาด 

ไม่ว่าเศรษฐกิจถดถอยในปี 2025 จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ค่าเงินดอลลาร์ยังคงเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญ ปัจจุบัน การอ่อนค่าของดอลลาร์ได้สร้างข้อสงสัยเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต 

สำหรับนักลงทุน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจเป็นโอกาสสำคัญ ตามสถิติในอดีต ดอลลาร์ที่อ่อนค่ามักส่งผลดีต่อ ตลาดหุ้น ทองคำ และคริปโตเคอเรนซี 

คำถามที่เหลืออยู่ตอนนี้คือ เฟดจะกล้าลดดอกเบี้ยมากแค่ไหน? และนักเทรดจะยังคงเดิมพันกับการอ่อนค่าของดอลลาร์ต่อไปหรือไม่? 

อ่านบทความวิเคราะห์ตลาดเชิงลึกของ Doo Prime เพิ่มเติมได้ที่นี่


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  
กลยุทธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นสะท้อนถึงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรใช้หรือพิจารณาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อขายหรือคำเชิญชวนให้เข้าทำธุรกรรมใดๆ Doo Prime ไม่รับรองความถูกต้องหรือความครบถ้วนของรายงานนี้และปฏิเสธความรับผิดใดๆ ต่อความเสียหายที่เป็นผลมาจากการใช้รายงานนี้ คุณไม่ควรพึ่งพารายงานนี้แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อทดแทนการตัดสินใจของคุณเอง ตลาดมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนควรใช้ความระมัดระวัง 

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]

article-thumbnail

2025-07-03 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทองคำ vs บิตคอยน์: อะไรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในปี 2025? 

เมื่อพูดถึงการป้องกันความผันผวนของตลาด มีสินทรัพย์อยู่สองประเภทที่โดดเด่น: ทองคำและบิตคอยน์ หนึ่งในนั้นได้รับความไว้วางใจมานานนับพันปี ส่วนอีกตัวแม้จะอายุน้อยแต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับโลกการเงินแบบดั้งเดิมได้อย่างน่าทึ่ง  และในตอนนี้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เริ่มคลี่คลายลง และตลาดต่างจับตาการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของพาวเวลล์ สินทรัพย์ทั้งสองนี้ก็กลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในการดึงดูดเงินลงทุน  แล้วอะไรจะกลายเป็น “หลุมหลบภัยทางการเงิน” สำหรับที่เหลือของปี 2025? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน  ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญในตอนนี้  การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง รวมถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทรัมป์ในการลดความตึงเครียดระดับโลก ได้ช่วยสลายความเสี่ยงระยะสั้นครั้งใหญ่ ราคาน้ำมันก็เริ่มเย็นลง ขณะที่ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อก็เริ่มลดลงเช่นกัน นั่นหมายความว่า ความสนใจของตลาดจะหันไปจับตาธนาคารกลางสหรัฐว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยเมื่อใด  นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทองคำและบิตคอยน์จะได้พิสูจน์ว่าใครคือผู้นำตัวจริงในฐานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ทั้งสองต่างมีแนวโน้มไปได้ดีเมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ทั้งสองได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง และทั้งสองยังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนที่วิตกกังวลและต้องการปกป้องอำนาจการซื้อ  แต่ในวันนี้ ใครคือผู้ที่ยืนเหนือกว่า?  ทองคำ vs บิตคอยน์: เปรียบเทียบแบบชัดๆ ในปี 2025  ก่อนจะลงลึกว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดของทั้งสองฝั่ง มาดูภาพรวมกันก่อนว่า ทองคำและบิตคอยน์แตกต่างกันอย่างไรในปัจจัยพื้นฐานที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุดในตอนนี้  ตอนนี้คุณก็เห็นภาพรวมแล้ว ต่อไปมาดูกันว่าทำไมทองคำอาจยังเปล่งประกายได้อีกในปีนี้ และอะไรอาจเป็นแรงผลักดันให้บิตคอยน์พุ่งแรงยิ่งขึ้น  ทองคำ: เป้าหมายถัดไปอาจอยู่ที่ 4,000 ดอลลาร์จริงหรือ?  มาเริ่มกันที่ทองคำ ล่าสุดราคาทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดใหม่ใกล้ 3,500 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อตัวลงเล็กน้อย  อะไรคือปัจจัยหนุน? เป็นผลจากหลายปัจจัยที่ประจวบเหมาะ ทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลง การเข้าซื้อของธนาคารกลาง และความกังวลเรื่องเสถียรภาพหนี้ในระยะยาว […]